ปราสาทตาควาย หรือปราสาทกรอเบย (กระบือ)

ปราสาทตาควาย หรือปราสาทกรอเบย (กระบือ)

ปราสาทตาควายหรือปราสาทกรอเบย (กระบือ) ซึ่งเป็นภาษาเขมรท้องถิ่นสุรินทร์หมายถึงควาย

ปราสาทตาควายเป็นปราสาทหินศิลาแลง ตั้งทางด้านทิศตะวันออกของปราสาทตาเมือนธม ห่างไปประมาณ 12กิโลเมตร ตั้งอยู่บนสันเขาห่างจากหน้าผาสูงประมาณ 10เมตร ของเทือกเขาพนมดงรัก เป็นปราสาทจัตุรมุขตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ผังของปราสาทเป็นรูปกากบาทส่วนฐานตํ่า ส่วนล่างสุดก่อด้วยศิลาแลง ส่วนบนก่อด้วยศิลาทรายทั้งหมด หลังคาห้องครรภคฤหะ ก่อเป็นทรงพุ่มยอดปรางค์ ซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป 5 ชั้น ส่วนหลังคามุขก่อเป็นรูปประทุน จรดหน้าบันทั้ง 4 ด้าน ภายในห้องมีประติมากรรม ลักษณะคล้ายสยัมภูศิวลึงค์ 1 ชิ้น

ปราสาทตาควายเป็นปราสาทหลังเดียวโดดๆ ตัวปราสาทก่อด้วยหินทรายและศิลาแลง ความสูงประมาณ12-15 เมตรจากพื้นดิน มีประตูทางเข้าสี่ด้าน ทุกด้านเป็นช่องประตูจริง มีมุขยื่นออกมาทางด้านหน้า (ตะวันออก)เป็นมุขสั้นๆ ปัจจุบันพังทลายลงมาบางส่วน สภาพของปราสาทตาควายนับว่าสมบูรณ์มาก คือชั้นหลังคายังอยู่ทั้งหมดจนถึงบัวยอด แต่การก่อสร้างปราสาทแห่งนี้ยังไม่แล้วเสร็จ เพียงก่อขึ้นรูปไว้เท่านั้น ยังมิได้ขัดแต่งผิวหินหรือแกะสลักลวดลายใดๆ ซึ่งนั่นเองอาจเป็นเหตุให้ปราสาทยังคงรูปอยู่ได้ โดยไม่ถูกทําลาย หรือลักลอบกะเทาะชิ้นส่วนต่างๆ ไป เช่นที่เกิดขึ้นกับปราสาทอื่นๆ ตามแนวชายแดน เช่นปราสาทตาเมือนธมการที่ไม่ปรากฏลวดลายอย่างหนึ่งอย่างใดเลยนี้ ทําให้กํา หนดอายุปราสาทตาควายได้แต่เพียงกว้างๆ จากรูปทรงของตัวปราสาทว่าน่าจะอยู่ในราวช่วงปลายสมัยนครวัด ต่อตอนต้นสมัยบายน หรือรัชกาลพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ถึงรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

ที่ตั้ง

ตั้งอยู่ที่ บ้านไทยนิยมพัฒนา หมู่ 17 ตําบลบักได  อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์

การเดินทาง

จากตัวเมืองสุรินทร์ไปตามทางหลวงหมายเลข 214(สุรินทร์-ปราสาท-กาบเชิง) ผ่านอํา เภอปราสาท จนถึงหลักกิโลเมตรที่ 44 เป็นสามแยกให้เลี้ยวขวา ไปตามทางหลวงหมายเลข 224 จนถึงหลักกิโลเมตรที่ 35ให้เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวง 2407 ผ่านบ้านไทยสันติสุขเมื่อเลี้ยวซ้ายเข้ามาแล้วตรงไปอีกประมาณ 16 กิโลเมตรก็จะพบตัวปราสาท การเดินทางไปยังปราสาทตาควายต้องประสานงานล่วงหน้ากับฝ่ายกิจการพลเรือนกองกําลังสุรนารี ค่ายวีรวัฒน์โยธิน อําเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์โทร.044-513502

อ้างอิง : กรมศิลปากร. ทำเนียบโบราณสถานขอมในประเทศไทย เล่ม 3 จังหวัดสุรินทร์, กรุงเทพฯ: กอง โบราณคดี กรม ศิลปากร, 2538.