ปราสาทบ้านไพล

ปราสาทบ้านไพล

ปราสาทบ้านไพล ตั้งอยู่ในบริเวณซึ่งกรมศิลปากรได้ติดตั้งรั้วล้อมรอบแนวเขตโบราณสถานไว้ รอบๆ มีถนนและบ้านเรือนตั้งอยู่เรียงรายอยู่ ทางด้านหน้าหรือทางทิศตะวันออกมีอาคารเสนาสนะของวัด ทางด้านทิศตะวันตกเป็นสวนยูคาลิปตัส และหมู่บ้านซึ่งมีพื้นที่โดยรอบเป็นทุ่งนา

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม

ปราสาทบ้านไพล ประกอบด้วยปราสาท 3 หลัง ตั้งเรียงกันในแนวเหนือ-ใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก อยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน มีบันไดทางขึ้นด้านหน้า 3 ทางพื้นที่ล้อมรอบด้วยคูนํ้าเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีรายละเอียดดังนี้

ปราสาทประธาน (หลังกลาง) ก่ออิฐ แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุมขนาดประมาณ 4×4 มีประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออก มีส่วนเรือนธาตุและส่วนหลังคาทําซ้อนชั้นขึ้นไป

ปราสาทหลังใต้ ก่ออิฐ แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุมขนาดประมาณ 4 x 4 เมตร มีประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออก สภาพชํา รุดเหลือเพียงส่วนเรือนธาตุด้านล่าง

ลานศิลาแลงหน้าตัวปราสาท มีฐานประติมากรรมรูปเคารพอีก 2 ฐาน และรอยหลุมเสาจํานวนมาก ซึ่งมีระยะห่างสมํ่าเสมออาจเป็นร่องรอยของอาคารที่คงเคยมีอยู่ ณ ที่นั้น

คูนํ้ามีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าล้อมรอบปราสาทเว้นด้านทิศตะวันออกไว้เป็นทางเข้า-ออก และสระนํ้ารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด 20 x 52 เมตร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ นอกคูนํ้า

หลักฐานทางโบราณคดีที่พบ

ทับหลังจํานวน 3 ชิ้น คือ ทับหลังจากปราสาทหลังกลาง สลักภาพเทวดานั่งชันเข่าอยู่ในซุ้มเหนือหน้ากาลที่กําลังคายท่อนพวงมาลัย ตรงเสี้ยวของท่อนพวงมาลัยจะแอ่นลงเล็กน้อย เหนือท่อนพวงมาลัยเป็นลายใบไม้ตั้งขึ้นใต้ท่อนพวงมาลัยเป็นลายใบไม้ม้วน

ทับหลังจากปราสาทหลังเหนือ สลักภาพเทวดานั่งชันเข่าอยู่ในซุ้มเหนือหน้ากาลที่กํา ลังคายท่อนพวงมาลัย และทับหลังจากปราสาทหลังใต้ สลักภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณเหนือหน้ากาลที่กํา ลังคายท่อนพวงมาลัย เหนือท่อนพวงมาลัยเป็นลายใบไม้ตั้งขึ้น ใต้ท่อนพวงมาลัยเป็นลายใบไม้ม้วน (ปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์) และได้พบชิ้นส่วนบัวกลุ่มยอดปราสาท และแท่นสําหรับติดตั้งประติมากรรมรูปเคารพ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ พื้นดินในบริเวณปราสาท

ความสําคัญของแหล่งทางประวัติศาสตร์ โบราณ-คดี

ปราสาทบ้านไพล เป็นปราสาทขอม เนื่องในศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไศวนิกาย ศิลปะขอมแบบบาปวน อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 ซึ่งเป็นศาสนสถานประจํา ชุมชน โดยทางด้านหน้าหรือทางทิศตะวันออกของปราสาทมีบารายขนาดใหญ่ อันแสดงให้เห็นว่าบริเวณนี้เคยเป็นชุมชนที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ปราสาทบ้านไพลจึงเป็นร่องรอยหลักฐานที่แสดงอิทธิพลวัฒนธรรมขอมที่ปรากฏขึ้นในดินแดนแถบนี้

ปราสาทบ้านไพล ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานแล้ว ปัจจุบันปราสาทบ้านไพลได้รับการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอีกแห่งหนึ่งของจังหวัด มีการบูรณะซ่อมแซมโดยกรมศิลปากร มีการปรับภูมิทัศน์ต่างๆ ให้สวยงาม

ตําแหน่งที่ตั้ง

หมู่ 6 บ้านปราสาท ตําบลบ้านไพล อําเภอปราสารท  จังหวัดสุรินทร์

การเดินทาง

จากตัวเมืองสุรินทร์ ไปตามทางหลวงหมายเลข 214 (สุรินทร์-ปราสาท) เมื่อถึงบ้านรํา เบอะ ช่วงหลักกิโลเมตรที่ 22 เป็นสี่แยกให้เลี้ยวขวาไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร จะถึงหมู่บ้านปราสาท ทางขวามือเป็นที่ตั้งของวัดโคกปราสาท(หรือวัดบ้านปราสาทพรหมคุณ) ปราสาทบ้านไพลอยู่ในบริเวณเดียวกันกับวัด

อ้างอิง : กรมศิลปากร. ทำเนียบโบราณสถานขอมในประเทศไทย เล่ม 3 จังหวัดสุรินทร์, กรุงเทพฯ: กอง โบราณคดี กรม ศิลปากร, 2538.