ปราสาทบ้านพลวง
ปราสาทบ้านพลวง
ประติมากรรมรูปเคารพคูนํ้าล้อมรอบ มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เว้นทางด้านทิศตะวันออกไว้เป็นทางเข้าออกปราสาทห่างออกไปประมาณ 100 เมตร
หลักฐานทางโบราณคดีที่พบ
ปราสาทบ้านพลวงได้รับการบูรณะด้วยวิธีอนัสติโลซิสเมื่อปี พ.ศ.2514-2516 โดยนายแวนส์ เรย์ ซิลเดรส(Childress R. Vance) นักศึกษาปริญญาเอกแห่งมหาวิทยาลัยคอร์แนล สหรัฐอเมริกา โดยได้รับความช่วยเหลือจากกรมศิลปากร จากการบูรณะไม่ปรากฏร่องรอยของส่วนปราสาทบ้านพลวงตั้งอยู่ในบริเวณนี้ ซึ่งกรมศิลปากร ได้ติดตั้งรั้วล้อมรอบแนวเขตโบราณสถานไว้ รอบๆ มีถนนและบ้านเรือนราษฎรตั้งเรียงรายอยู่ ทางด้านหน้าหรือทางทิศตะวันออกมีบารายหรือสระนํ้าขนาดใหญ่ สภาพรอบหมู่บ้านเป็นป่าโปร่ง และทุ่งนา
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
ปราสาทบ้านพลวง ประกอบด้วยปราสาทหลังเดียวตั้งอยู่บนฐานศิลาแลง พื้นที่ล้อมรอบด้วยคูนํ้า มีรายละเอียดดังนี้ปราสาทประธาน ก่อด้วยศิลาทราย แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม ขนาด 4 x 4 เมตร ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 8.40 x23.30 เมตร และมียื่นออกมาทางด้านทิศตะวันออก ขนาด6 x 8 เมตร ปราสาทประธานมีประตูทางเข้าอยู่ทางด้านทิศตะวันออก ที่ผนังสองข้างประตูสลักภาพทวารบาลยืนกุมกระบองข้างละ 1 ตน ด้านทิศตะวันออกมีทับหลังสลักภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณอยู่เหนือหน้ากาล หน้าบันสลักภาพพระกฤษณะยกเขา โควรรธนะ ด้านทิศเหนือมีทับหลังสลักภาพพระกฤษณะปราบนาคกาลียะ หน้าบันสลักภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ด้านทิศใต้มีทับหลังสลักภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ หน้าบันสลัก ภาพเทพประทับนั่งเหนือหน้ากาล ส่วนด้านทิศตะวันตกทับหลังและหน้าบันยังไม่ได้สลักภาพ ภายในปราสาทมีฐาน
หลังคาปราสาทแต่อย่างใด พบเพียงกลีบขนุนสลักเป็นรูปนาค 5 เศียรเพียงชิ้นเดียว ซึ่งยังแกะสลักไม่เสร็จเรียบร้อยดี ปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ประกอบกับทับหลังและหน้าบันทางด้านทิศตะวันตกที่ยังไม่แกะสลัก จึงสันนิษฐานว่าปราสาทบ้านพลวงน่าจะเป็นปราสาทที่ยังสร้างไม่แล้วเสร็จ และได้พบเศษภาชนะดินเผาแบบเครื่องถ้วยเขมรจํานวนมาก ทั้งจากแหล่งเตาพนมกุเลน แหล่งเตาบุรีรัมย์ เครื่องถ้วยชนิดไม่เคลือบแบบลีเดอแวง (Lie de Vin)
ต่อมาปี พ.ศ.2535 กรมศิลปากรได้ทําการขุดแต่งและ บูรณะอีกครั้ง พบเครื่องถ้วยลพบุรี เคลือบสีเขียวและสีดําหรือนํ้าตาล ประเภทแจกัน คนโท ไห ครก อายุราวพุทธ
ความสําคัญของแหล่งทางประวัติศาสตร์ โบราณ-คดี
ปราสาทบ้านพลวงเป็นปราสาทขอมเนื่องในศาสนาพราหมณ์ ศิลปะขอมแบบบาปวน อายุราวพุทธศตวรรษที่16-17 ซึ่งเป็นศาสนสถานประจําชุมชน โดยทางด้านหน้าหรือทางทิศตะวันออกของปราสาทมีบารายขนาดใหญ่ อันแสดงให้เห็นว่าบริเวณนี้เคยเป็นชุมชนที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ปราสาทบ้านพลวงจึงเป็นร่องรอยหลักฐานที่แสดงอิทธิพลวัฒนธรรมขอมที่ปรากฏขึ้นในดินแดนแถบนี้
ตําแหน่งที่ตั้ง
หมู่ 1 บ้านพลวง ตําบลกังแอน อําเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
การเดินทาง
จากตัวเมืองสุรินทร์ ไปตามทางหลวงหมายเลข 214(สุรินทร์-ปราสาท) ผ่านตัวอําเภอปราสาท และสี่แยกปราสาทไปเล็กน้อย เมื่อถึงหมู่บ้านพลวง ช่วงหลักกิโลเมตรที่ 32 ให้เลี้ยวซ้าย เข้าไปอีกประมาณ 600 เมตรจะพบปราสาทบ้านพลวงตั้งอยู่ทางด้านขวามือ
อ้างอิง : กรมศิลปากร. ทำเนียบโบราณสถานขอมในประเทศไทย เล่ม 3 จังหวัดสุรินทร์, กรุงเทพฯ: กอง โบราณคดี กรม ศิลปากร, 2538.