ปราสาทภูมิโปน

 ปราสาทภูมิโปน

ปราสาทภูมิโปน ประกอบด้วย โบราณสถาน 4 หลังคือ ปราสาทก่ออิฐ 3 หลัง และศิลาแลง 1 หลัง มีอายุการก่อสร้างอย่างน้อย 2 สมัย ปราสาทก่ออิฐหลังใหญ่ และหลังทางทิศเหนือสุด นับเป็นปราสาทแบบศิลปะเขมร ที่มีอายุเก่าที่สุดในประเทศไทย คือราวพุทธศตวรรษที่ 13 ส่วนปราสาทอิฐหลังเล็ก ที่ตั้งตรงกลาง และปราสาทที่ มีฐานศิลาแลง ด้านทิศใต้นั้น สร้างขึ้นในสมัยหลังปราสาทภูมิโปน คงจะสร้างขึ้นเป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดูไศวนิกาย เช่นเดียวกับศาสนาสถานอื่นๆ ในรุ่นเดียวกันที่ปรางค์องค์ใหญ่พบ ท่อโสมสูตร คือ ท่อนํ้ามนต์ ที่ต่อออกมาจากแท่นฐานรูปเคารพห้องกลาง ติดอยู่ที่ผนังในระดับพื้นห้อง

ตํานานปราสาทภูมิโปน

ตํานานเนียงด็อฮธม หรือพระนางนมใหญ่ มีเรื่องเล่าว่า กษัตริย์ขอมได้สร้างเมืองไว้กลางป่าใหญ่ สํา หรับเป็นที่หลบภัยของราชวงศ์และได้นําธิดาคือ เนียงด็อฮธม มาหลบซ่อนไว้ ต่อมาได้มีการสร้างปราสาทขึ้น อันเป็นที่มาของชื่อปราสาทคือ ภูมิโปนหรือปูมปูน ในภาษาเขมรท้องถิ่น“ภูมิหรือปูม” แปลว่า แผ่นดินหรือสถานที่ “โปนหรือปูน”แปลว่า หลบซ่อน

บริเวณใกล้ปราสาท ห่างออกไปทางทิศตะวันออกมีต้นลําเจียกที่สระนํ้าซึ่งไม่เคยออกดอกเลย เล่าว่าเกิดจากเนียงด็อฮธมได้อธิษฐานไว้ ก่อนที่นางจะจากปราสาทภูมิโปนไปว่า หากมิได้กลับมาที่ปราสาทแห่งนี้อีกขออย่าให้ต้นลําเจียกมีดอกอีกเลย

ที่ตั้ง

หมู่ 5 บ้านภูมิโปน ตํา บลดม อํา เภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์

การเดินทาง

จากจังหวัดสุรินทร์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 2077(สุรินทร์-สังขะ) ระยะทาง 49 กิโลเมตร จากแยกอำเภอสังขะ เข้าทางหลวง หมายเลข 2124 (สังขะ-บัวเชด) ตรงต่อไป จนถึงชุมชนบ้านภูมิโปน ระยะทางอีก 10 กิโลเมตร จะเห็นปราสาทตั้งอยู่ริมถนนด้านซ้ายมือ

อ้างอิง : กรมศิลปากร. ทำเนียบโบราณสถานขอมในประเทศไทย เล่ม 3 จังหวัดสุรินทร์, กรุงเทพฯ: กอง โบราณคดี กรม ศิลปากร, 2538.