โนนแท่น (โนนคอกม้า)

โนนแท่น (โนนคอกม้า)

จากการสำรวจพบเศษภาชนะดินเผาทั้งแบบเนื้อดินธรรมดา และเนื้อแกร่งเคลือบสีน้ำตาลแบบเครื่องถ้วยลพบุรีกระจายอยู่เป็นจำนวนมากทั้งแบบหม้อก้นกลมและแบบแคปซูล มีกระดูกมนุษย์และเครื่องสำริดบรรจุอยู่ภายใน

ความสำคัญของแหล่งทางประวัติศาสตร์โบราณคดี

บริเวณโนนแท่นเป็นชุมชนโบราณที่มีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย-ต้นประวัติศาสตร์ ต่อมามีการสร้างปราสาทในวัฒนธรรมแบบขอมขึ้นเป็นศูนย์กลางของชุมชนแถบปัจจุบัน ไม่ปรากฏหลักฐานทับหลังหรือเสาประดับกรอบประตู สำหรับการศึกษากำหนดอายุสมัย อย่างไรก็ตามโนนแท่นยังคงเป็นร่องรอยหลักฐานที่แสดงอิทธิพลวัฒนธรรมขอมที่ปรากฏขึ้นในดินแดนแถบนี้

ตำแหน่งที่ตั้ง

หมู่ 15 บ้านโพนครก ตำบลโพนครก อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์

การเดินทาง

จากตัวเมืองสุรินทร์ ไปตามทางหลวงหมายเลข 214 (สุรินทร์-จอมพระ-ท่าตูม) เป็นระยะทาง 52 กิโลเมตร ถึงตัวอำเภอท่าตูม เดินทางต่อไปตามทางหลวงหมายเลข 215 อีกประมาณ 12 กิโลเมตร (ซึ่งจะข้ามลำน้ำมูล) สังเกตทางขวามือจะมีป้ายทางไปโรงเรียนโนนแท่นให้เลี้ยวขวาตรงไปอีก 200 เมตร จะเป็นที่ตั้งของโรงเรียนโนนแท่น และโนนแท่นอยู่บริเวณเดียวกันกับโรงเรียน

อ้างอิง : กรมศิลปากร. ทำเนียบโบราณสถานขอมในประเทศไทย เล่ม 3 จังหวัดสุรินทร์, กรุงเทพฯ: กอง โบราณคดี กรม ศิลปากร, 2538.