ปราสาทหมอนเจริญ

ปราสาทหมอนเจริญ

ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันกับวัด มีโครงสร้างฐานและ เสาของอุโบสถซ้อนทับ เนื่องจากกรมศิลปากรได้ระงับโครงการก่อสร้างอุโบสถนี้ไว้ (ตั้งแต่เมื่อประมาณ 20 ปีมาแล้ว) พื้นที่ล้อมรอบด้วยคูนํ้า สภาพโดยรวมเป็นเนินดินสูงกว่าพื้นที่โดยรอบซึ่งเป็นทุ่งนาเล็กน้อย

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม

ปราสาทหมอนเจริญเดิมคงมีลักษณะเป็นปราสาท ขอมหลังเดียว ตั้งอยู่ภายในพื้นที่ซึ่งมีคูนํ้าล้อมรอบ มีรายละเอียดดังนี้ปราสาทประธาน เดิมคงมีลักษณะแบบปราสาทขอมโดยทั่วไปคือ สร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีกรอบประตูและทับหลังทําด้วยศิลาทราย สภาพปัจจุบันเหลือเพียงฐานศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 11 x 14.35เมตร ต่อมาทางวัดได้สร้างอุโบสถซ้อนทับลงไปแทนที่อย่างไรก็ตามยังพบหลักฐานชิ้นส่วนเครื่องประกอบสถาปัตยกรรม ได้แก่ ก้อนศิลาทรายและศิลาแลง ตั้งอยู่รายรอบคูนํ้าล้อมรอบพื้นที่มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 90 x 94 เมตร เว้นทางด้านทิศตะวันออกไว้เป็นทางเข้า-ออก ยังปรากฏร่องรอยให้เห็นชัดเจนทุกด้านหลักฐานทางโบราณคดีที่พบฐานประติมากรรมรูปเคารพศิลาทราย ตั้งอยู่บนปราสาท ซึ่งปัจจุบันมีฐานอุโบสถครอบทับอยู่ และก้อนหินทรายขนาดใหญ่มากบางชิ้นยาวถึง 3 เมตร

ความสําคัญของแหล่งทางประวัติศาสตร์ โบราณ-คดี

พบหลักฐานเครื่องประกอบสถาปัตยกรรม ที่สําคัญคือก้อนศิลาทรายที่มีขนาดใหญ่มาก อาจเป็นวัสดุเตรียมการสําหรับการก่อสร้างปราสาท จึงทําให้อาจสันนิษฐาน ได้ว่าปราสาทแห่งนี้น่าจะอยู่ระหว่างการก่อสร้างคือการประกอบหินเป็นตัวปราสาท ยังไม่มีการแกะสลักลวดลายใดๆ โดยที่มีการนําฐานประติมากรรมรูปเคารพมาติดตั้งไว้ แล้ว ปราสาทหมอนเจริญจึงเป็นร่องรอยหลักฐานที่แสดงอิทธิพลวัฒนธรรมขอมที่ปรากฏขึ้นในดินแดนแถบนี้ปัจจุบันปราสาทหมอนเจริญยังไม่ได้รับการบูรณะทั้งนี้เนื่องจากมีสภาพที่ถูกทําลายไปมาก และมีโครงการก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ซ้อนทับซึ่งกรมศิลปากรได้ระงับการก่อสร้าง ดังกล่าวไว้ตั้งแต่เมื่อประมาณ 20 ปีมาแล้วสภาพพื้นที่มีต้นไม้และวัชพืชปกคลุม

ตําแหน่งที่ตั้ง

บ้านหมอนเจริญ ตําบลกาบเชิง อําเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์

อ้างอิง : กรมศิลปากร. ทำเนียบโบราณสถานขอมในประเทศไทย เล่ม 3 จังหวัดสุรินทร์, กรุงเทพฯ: กอง โบราณคดี กรม ศิลปากร, 2538.